โรงงานผลิตเหล็กชนิดพิเศษที่มีการบริหารจากการร่วมทุนระหว่าง 2 บริษัท คือบริษัท Kobe Steel จากญี่ปุ่นและบริษัท Millcon Steel ของไทยซึ่งได้ทำการสร้างโรงงานอยู่ ณ จังหวัดระยองอันเป็นจังหวัดที่อยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยอีกทั้งยังเป็นจังหวัดที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการประกอบอุตสาหกรรมโรงงานต่างๆ อีกทั้งยังมีโรงงานทั้งหลายตั้งอยู่ในจังหวัดนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งการร่วมมือในครั้งนี้ ไม่ปล่อยเวลาให้หายไปอย่างสูญเปล่า เพราะขณะนี้ได้เริ่มเดินสายการผลิตแล้ว ด้วยความร่วมมือจาก Kobe Steel ของญี่ปุ่น ทางโรงงานมีการคาดการณ์ว่าจะสามารถเริ่มส่งผลิตภัณฑ์ตัวอย่างให้ลูกค้าได้ภายในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ โดยทั้ง 2 บริษัทได้ทำจับมือและวางข้อตกลงร่วมกัน ในเดือนภุมภาพันธ์ ปี 2016 ในการผลิตลวดเหล็กชนิดพิเศษ ซึ่งการร่วมทุนในครั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนชื่อโรงงานเป็น Kobelco Millcon Steel Co (KMS) เรียกได้ว่าเป็นการร่วมทุนกันทางแรงงานและจิตใจ โดยปกติแล้วโรงงานแห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศไทยจะทำการผลิตลวดเหล็กธรรมดาเท่านั้น แต่ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมกำลังจะเริ่มทดสอบผลิตลวดเหล็กชนิดพิเศษออกมา ทางโรงงานกล่าวว่าพวกเขาร่วมกันวางแผนในการจัดส่งสินค้าตัวอย่างที่ผลิตขึ้นมาใหม่ๆ ให้กับลูกค้าไปทดลองใช้ โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงหน้าร้อนเป็นต้นไปและเริ่มจำหน่ายลวดเหล็กชนิดพิเศษตอนจบปีงบประมาณของปีนี้ ซึ่งก็คือในช่วงเดือนมีนาคม ปี 2018 นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีการวางเป้าหมายที่จะทำการผลิตลวดเหล็กชนิดพิเศษอย่างเต็มกำลัง ภายในปี 2020 การที่บริษัท Millcon สามารถผลิตเหล็กพิเศษของไทยได้ เนื่องมาจาก Millcon มีโรงงานขนาดใหญ่ซึ่งมีกำลังในการผลิตลวดเหล็ก carbon อยู่จำนวน 480,000 ตัน/ปี เมื่อโรงงานทุ่มเทการผลิตอย่างเต็มกำลัง ทางโรงงานก็มีความมุ่งหวังว่าการผลิตลวดเหล็กชนิดพิเศษจะมีปริมาณเกินครึ่งหนึ่งของกำลังการผลิตทั้งหมด บริษัท Kobe ได้ทำการจัดส่ง billets ชนิดพิเศษส่งตรงมาจากประเทศญี่ปุ่นให้กับ RSM เพื่อการเริ่มต้นเดินสายการผลิต โดยทาง Kobe จะจัดส่งวัตถุดิบให้ตลอด ทาง KMS ก็ได้ทำการจัดส่งลวดเหล็กชนิดพิเศษให้กับ Kobe CH Wire (Thailand) ซึ่งตั้งอยู่ที่เขตหนองจอก เพื่อทำการผลิตลวดเหล็กเย็น ซึ่งมีอัตราการผลิต 4,500 ตัน/เดือน ตอนแรกนั้นทาง Kobe ได้ทำการจัดส่งลวดเหล็กพิเศษจากประเทศญี่ปุ่นให้กับโรงงานทั้ง 2 แห่ง แต่ภายหลังจากนี้ ทาง Kobe จะส่ง…
Read MoreCategory: News in the country
ส.ท่อเหล็กถึงกับร้อง หลังถูกสอบจีนเลี่ยงท่อน้ำมัน
พาณิชย์ ออกโรงปกป้องผู้ผลิตท่อเหล็กไทย 4 ชาติ จีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน ต่อ 5 ปี ทางด้านสมาคมผู้ผลิตเหล็กแปรรูปเหล็กแผ่น ร้องเรียนขอให้รัฐได้ใช้มาตรการ AD ชั่วคราวเพื่อสกัดท่อเหล็กของทางเวียดนาม ภายหลังจากการพบจีนสวมสิทธิ์ หลีกเลี่ยงการนำเข้าเป็น ท่อน้ำมัน API ทำให้ยอดนำเข้าเพิ่มเป็น 100% นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ออกมาเปิดเผยว่า ใน วันที่ 9 มิถุนายน ค.ส. 2560 ที่ประชุม ทตอ.เรียกเก็บอากรเพื่อตอบโต้การทุ่มตลาด หรือ AD ของธุรกิจเหล็กแผ่นรีดร้อนจากจีนและมาเลเซียเป็นเวลา 5 ปี เหล็กจากจีนในอัตราเดิมคือ 30.91% ของราคา C.I.F ส่วนเหล็กจากมาเลเซีย 23.57-42.51% ของราคา C.I.F บวกกับเรียกอากร AD สินค้าหลอด รวมทั้งท่อที่ทำจากเหล็กจากจีนและเกาหลีใต้ 5 ปี ซึ่งเก็บจากจีนในอัตรา 3.22 -66.01% ของราคา C.I.F และเกาหลีใต้ อัตรา 3.49-53.88% ของราคา C.I.F โดยการใช้มาตรการ AD เป็นการทำตามขั้นตอน รวมทั้งใช้วิธีไต่สวนตามกฎระเบียบ พิจารณาจากหลักฐานตามความเป็นจริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ WTO ได้มีมติต่อร่างกรณีการไต่สวน AD เหล็กแผ่นรีดร้อนจากเกาหลี ซึ่งให้ทำการยุติการไต่สวน เพราะในช่วงระยะเวลาดังกล่าว มีการทุ่มตลาดจริง แต่ไม่ได้เป็นการสร้างความเสียหายให้แก่อุตสาหกรรมภายใน ซึ่งปัญหานี้จะมีการรับฟังความเห็นกันต่อไป โดยทางสมาคมผู้ผลิตท่อโลหะ เห็นด้วยกับทั้งมาตรการเกี่ยวกับเหล็กรีดร้อน เนื่องจากขณะนี้เหล็กรีดร้อนจากจีนรวมทั้งท่อเหล็ก ได้ส่งออกมาทุ่มตลาดเป็นจำนวนมากในหลายๆประเทศ ไม่ใช่แค่ไทยอย่างเดียว แต่รวมไปถึงสหรัฐ สหภาพยุโรป ซึ่งในๆหลายประเทศได้งัดมาตรการต่างๆ ออกมาใช้ เช่น AD, Safeguard, Anticircumvention, CVD…
Read Moreอุตสาหกรรมเหล็กในจีน รัสเซีย อินเดีย และและ กำลังจะฟื้นตัวในเร็วนี้
อุตสาหกรรมเหล็กระดับโลกเริ่มส่อแววว่ากำลังจะมีการฟื้นตัวดีขึ้นกว่าเดิม หรือดีขึ้นกว่าในช่วงต้นปี 2017 เนื่องจากยอดการผลิตเหล็ก 4 เดือนแรกของปีนี้พบว่าเพิ่มขึ้นประมาณ 5.2% หากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จะพบว่าจำนวนการผลิตเหล็กสะสมคือ 550.8 ล้านตัน ซึ่งได้รับแรงผลักดันจากหลายประเทศ ทำให้จำนวนการผลิตเหล็กดิบทั้งของจีน , สหรัฐฯ , เยอรมัน , อินเดีย ล้วนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ โดยทางผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ หรือ PMI ยอดการสั่งซื้อในเดือนพฤษภาคม ปี 2017 ของประเทศหลักๆ เรียกได้ว่ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งมีคำสั่งซื้อสินค้าอันเกิดขึ้นจริงดีกว่าผลที่ได้มาจากการสำรวจเสียอีก หากพูดถึงอัตราการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในด้านการผลิตส่อผลดีต่ออุตสาหกรรมเหล็ก อย่างในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของจีน มีการขยายตัวถึง 6.5% , ของสหรัฐมีการขยายตัว 2.2% , ของเยอรมันมีการขยายตัว 1.8% , ของรัสเซียมีการขยายตัว 2.4% ตัวเลขทั้งหมดนี้คือข่าวดี ซึ่งได้มีการใช้จ่ายไปกับการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆด้วย เช่น การเปลี่ยนสะพานเก่าให้เป็นสะพานใหม่ รวมทั้งโครงสร้างเก่าอื่นๆ เช่น การสร้างถนน การสร้างทางรถไฟอันใหม่ การสร้างเมืองใหม่ในประเทศจีน สร้างท่าเรือใหม่ นำไปสร้างท่อส่งน้ำมัน จากความต้องการทั้งหมดนี้จึงส่งผลทำให้ต้องการใช้เหล็กเพิ่มมากขึ้น หากพูดถึงอุตสาหกรรมยานยนต์หรือกอุตสาหกรรมทางด้านอื่นๆ พบว่ามีสัดส่วนการบริโภคอยู่ที่ 25% ถือว่ามีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งมาจาก ราคาน้ำมันเบนซินลดลง รายได้เพิ่มขึ้น มีการขนส่งคมนาคมสะดวกมากขึ้น รวมทั้งราคาสินค้าซึ่งสามารถนำมาแข่งขันได้ โดยเฉพาะในแทบยุโรป , สหรัฐอเมริกา , ญี่ปุ่น นอกจากนี้ราคาของวัตถุดิบผันผวนน้อยลง เพราะราคาของสินแร่และถ่านมีการลดลงอย่างรวดเร็วเพียงแค่ไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งราคาสินแร่และถ่านโค้กมีราคาเฉลี่ยประมาณ $55-60 ต่อตัน ได้มีการประเมินว่าราคาของวัตถุดิบจะลดลงอีกในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ สาเหตุมาจากความต้องการเหล็กในประเทศจีนมีแนวโน้มว่าจะลดลง ทางด้านการทำงานของบริษัทผลิตเหล็กระดับแนวหน้า เช่น Baosteel, Nippon and Mitsubishi , Severstal ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้มีการบ่งบอกในเรื่องของการฟื้นตัวทางการเงินที่ดีขึ้น ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์รวมทั้งสถาบันทางการเงินเจ้าอื่นๆ ของประเทศต่างๆ ที่ทำการปล่อยกู้ให้กับต่างผ่อนคลายความกังวลในเรื่องของการผิดนัดชำระหนี้ สรุปแล้วภาพรวมในปีนี้นักวิเคราะห์หลายท่าน…
Read Moreบริษัทเหล็กมีหนาวหลัง“สรรพากร” คุมเข้มการเลี่ยงภาษี
อธิบดีกรมสรรพากรของไทย ออกมาเปิดเผยว่า กรมสรรพากรจะทำการเรียกผู้ประกอบการธุรกิจเหล็กรายใหญ่ มาฟังคำชี้แจงในเรื่องแนวทางการเสียภาษีอย่างถูกต้อง เพราะที่ผ่านมา มีลักษณะการทำธุรกิจแบบไม่ได้ลงบัญชีอย่างถูกต้อง เช่น การออกใบเสร็จจะทำการส่งตรงไปยังผู้รับเหมาเลย โดยไม่ผ่านผู้ค้าคนกลางรายอื่นๆ จึงเป็นเหตุให้กรมสรรพากรไม่อาจตรวจสอบข้อมูลการเสียภาษีได้อย่างเต็มกำลัง อีกทั้งธุรกิจเหล็กจัดเป็นหนึ่งในธุรกิจเสี่ยงซึ่งทางกรมสรรพากรกำลังเร่งมืออย่างเต็มกำลังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี โดยมีผู้ผลิตรายใหญ่ไม่เพียงกี่ราย ส่วนรายกลางและรายย่อย มีเป็นจำนวนมาก แต่ถ้าเราสืบสาวไปยังธุรกิจรายใหญ่ได้ ทางสรรพากรก็จะรู้ข้อมูลการซื้อขายทั้งหมด ซึ่งที่ผ่านมาธุรกิจเหล็กได้ประสบปัญหาการทุ่มราคา จึงทำให้ธุรกิจเหล็กเจอกับการขาดทุนมาอย่างต่ำ 5 ปี แต่ปัญหาดังกล่าวจะหมดสิ้นไป รวมทั้งมีอัตราการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เพราะนโยบายรัฐบาลมีการหนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้มีการคาดการณ์ว่ามูลค่าการขายเหล็กน่าจะพุ่งขึ้นไปยันแสนล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังมีธุรกิจค้าขายด้วยเงินสดต่างๆ เช่น ร้านขายอาหาร ร้านขายของ ร้านขายยา เป็นต้น อย่างธุรกิจร้านขายยา กรมสรรพากรมีการเชิญชวนให้ผู้ประกอบการทุกคน ได้เข้าสู่ระบบผ่านการจดทะเบียนให้เป็นนิติบุคคล อย่างถูกต้อง ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยินยอมเข้าจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เพราะจะทำให้มีการลงบัญชีอย่างถูกต้องและยังสามารถหักลดหย่อนรายจ่ายได้มากขึ้น ต่อมาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กแห่งประเทศไทย ออกมากล่าวว่า การที่กรมสรรพากรจะเข้ามากวดขันในเรื่องของการเลี่ยงภาษีในสินค้าเหล็ก เรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากจะทำให้ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเหล็กมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เช่น มีการค้าที่เป็นธรรมขึ้น โดยผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง สามารถสู้กับผู้ทุจริตที่ชอบเลี่ยงภาษีได้มากขึ้นทั้งหมดนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานต้นทุนอันใกล้เคียงกัน จากการประเมินโรงงานผู้ผลิตเหล็กส่วนมากทำธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้โรงงานผลิตเหล็กส่วนมากเข้าไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ อีกทั้งยังมีการร่วมทุนกับบริษัทข้ามชาติรายใหญ่ แน่นอนว่าผู้ผลิตเหล่านี้ยึดถือการทำธุรกิจอย่างโปร่งใส ซื่อสัตย์ เพื่อไม่ให้เสียชื่อเสียงแก่ตนเอง เพราะฉะนั้นกลุ่มโรงงานผู้ผลิตเหล็กจึงสามารถตรวจสอบได้ง่ายกว่า พบปัญหาการเลี่ยงภาษีได้น้อย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การเลี่ยงภาษีส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มผู้ค้าเหล็ก โดยผู้ค้าบางคนขายเหล็กที่ไม่ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังขายเหล็กให้กับผู้รับเหมาต่างๆ อันก่อให้เกิดช่องทางเลี่ยงภาษีได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
Read Moreการสัมภาษณ์ สุรเดช มุขยางกูร ชูธง เรื่องจากสหวิริยา เข้าสู่ โลจิสติกส์ครบวงจรอย่างเต็มตัว
การสัมภาษณ์ คุณ สุรเดช มุขยางกูร ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร บริษัท SVL corporation จำกัด ในฐานะผู้บริหาร SVL corporation Group เหตุผลที่ทำให้มาทำธุรกิจทางด้านโลจิสติกส์อย่างเต็มตัว ทางด้านสหวิริยาทำธุรกิจเหล็กมามากกว่า 60 ปี เป็นที่รู้ๆกันอยู่ว่าเหล็กมีน้ำหนักเยอะ เพราะฉะนั้นการขนส่งจึงเป็นปัญหาใหญ่ เพราะฉะนั้น สหวิริยาขนส่งได้ตั้งมา 50 ปี เพื่อทำการส่งเหล็กจากโรงงานที่ ประจวบ ไปส่งลูกค้าที่กรุงเทพฯ เมื่อก่อนไม่ต้องทำอะไรมาก จน 3 ปีที่ผ่านมาเหล็กเริ่มเกิดวิกฤต เลยเกิดไอเดียจัดโครงสร้างใหม่ขึ้นมา เลยกลายมาเป็น สหวิริยา โลจิสติกส์ มีหน้าที่ย้ายของ ทำคลังสินค้า เมื่อก่อนไม่เคยไปหาลูกค้า มีแต่ลูกค้ามาหา แต่ปัจจุบันนี้กลับไปวิ่งหาลูกค้าแทน ทรัพยากรในการจะทำแบบครบวงจร ปัจจุบันนี้เรามีรถบรรทุกทั้งหมด 200 คัน และจากเพื่อนร่วมธุรกิจ 300 คัน เท่ากับมีรถทั้งหมด 500 คัน อีกทั้งยังมีท่าเรืออีก 2 แห่ง คือ ท่าเรือตรงแม่น้ำบางปะกง และท่าเรือน้ำลึกที่ ประจวบ ซึ่งท่าเรือเหล่านี้สามารถรองรับเรือขนถ่ายสินค้าอันมีระวางสูงสุดได้ถึง 100,000 DWT อีกทั้งยังมีท่าเรือขนาดเล็กสามารถจอดเรือเล็กได้อีก 8 ลำ มีอุปกรณ์รองรับในการขนส่งขึ้นไปยังชายฝั่ง มีเครน อุปกรณ์ขนส่ง อย่างครบครัน โดยร่องน้ำเป็นแบบน้ำลึกจากธรรมชาติขนาด 14 เมตร ไม่ได้ไปปรับแต่งอะไร ตรงนี้ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของการบริหารโลจิสติกส์ เนื่องจากการขนส่งเหล็กทางเรือสามารถช่วยลดปริมาณการจราจรติดขัดบนถนน นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนให้กับลูกค้าด้วยการใช้เรือลำเลียง 60 ลำอีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีขนาดระวางบรรทุก 2,000-2,200 ตัน/ลำ ถ้าเปรียบเทียบกับรถบรรทุก 1 คันจะบรรทุกได้ 30 ตัน เท่ากับใช้เรือเพียง 1 ลำ สรุปแล้วสามารถประหยัดการใช้รถบรรทุกไปได้ 70 คัน แถมในบางครั้งใช้เรือลำเลียงพ่วงเพียง…
Read More